วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2550

บทแสดงวัตรของกัลยาณชน

ปฐโม อรุโณ เสโตฯ

อิทานิ อรุโณทยํ อาปุจฺฉามิฯ
บัดนี้ ฉันบอกกล่าว อรุโณทัย
อรุโณทัย อรุโณทัย แจ้งสว่างแล้วโว้ย...
ฉันนุ่งสบงพระวินัย ( อา. ปา. มะ. จุ. ปะ. )
คาดประคตเอว ทำใจให้มั่นแน่น อิมํ กายพนฺธนํ อธิฏฺฐามิฯ
ห่มจีวรพระสูตร ( ที. มะ. สัง. อัง. ขุ. )
แล้วหยิบสังฆาฏิพระอภิธรรมขึ้นพาดบ่า
( สัง. วิ. ธา. ปุ. กะ. ยะ. ปะ. )
เพื่อให้ดูสง่างามพร้อมใจที่รู้ ธรรมธาตุทั้งปวง

ทุติโย ตามฺพมํ เจวฯ

อยํ อตฺตภาโว อสุจิ อสุภํ
มรณปริโยสานํ
กมฺมฏฺฐานํ ภาเวติฯ

ฉันห่มครองเรียบร้อยแล้วนั่งลงพิจารณาอัตตภาพ
เจริญกรรมฐาน ไม่สะอาด ไม่งาม
มีความตายเป็นที่สุดรอบฯ
ถวายเครื่องสักการะแด่พระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสังฆเจ้า
พุทฺธํ ให้แจ้ง ธมฺมํ ให้สว่าง สงฺฆํ เบิกทางให้สว่างคือดวงแก้วฯ
แล้วสวดมนต์บทสรรเสริญพระพุทธคุณ
อิติปิโส ภควา
อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ ฯเปฯ
และบทพาหุงฯ อันแสดงความเชิดชู เทิดทูน-
สรรเสริญคุณพระพุทธเจ้าอย่างยิ่ง...
จบลงด้วยการกรวดนํ้าให้แด่สัตว์โลก
จากนั้นฉันก็พิจารณาขณะของปัจจัยทั้งสี่
เพื่อกำหนดรู้และใช้อย่างถูกต้อง

ตติโย โอทาโตฯ

ก่อนยามแห่งอรุณที่สี่จะย่างถึง
ฉันจักไม่นอนลงให้กิเลสมันขี่คออีก
จักใช้เวลาที่เหลือตริตรองธรรม
ท่องบ่นพระคัมภีร์
แสดงความผิดกับสหธรรมิกเพื่อไม่ให้อาบัติข้ามวันคืน
และฉันจักบอกกล่าวแก่ตนเองว่า-
วันหนึ่งผ่านไปแล้วโว้ย วันหนึ่งผ่านไปแล้วโว้ย
จักได้ทำอะไรให้มันถูกต้องตามกิจและกาลกำหนดของวัน

จตุตฺโถ นนฺทิมุโขฯ

วันใหม่ขณะแห่งอรุณที่สี่
ฉันเปลื้องจีวรครอง นุ่งห่มจีวรเก่า
หยิบบาตรขึ้นมาดู แล้วควานมือลงไป
ด้วยคำภาวนา-
จตฺตาโร สติปฏฺฐานา,
กายานุปสฺสนา สติปฏฺฐานํ เวทนานุปสฺสนา สติปฏฺฐานํ
จิตฺตานุปสฺสนา สติปฏฺฐานํ ธมฺมานุปสฺสนา สติปฏฺฐานํ ฯ
ตั้งตนไว้ในที่อยู่ไม่ไปปราศจากสติ สติอวิปฺปวาโสฯ
แล้วถือบาตรเดินไปตามย่านบ้าน
ด้วยคำภาวนา-
สพฺเพ สตฺตา อเวรา โหนฺตุ
อพฺยาปชฺฌา-อนีฆา-สุขี อตฺตานํ ปริหรนฺตุฯ
หยุดยืนสงบนิ่งหน้าบ้านทายก-ทายิกาผู้ศรัทธาในพระไตรรัตน์
นามรูปํ อนิจฺจํ นามรูปํ ทุกฺขํ นามรูปํ อนตฺตาฯ
ก้อนข้าว ตกลงในบาตรแสดงความร้อนผ่านบาตรเหล็ก
นิสฺสตฺโต นิชฺชีโว สุญฺโญฯ
ฉันขอบคุณผู้ศรัทธา ด้วยพระบาลีในใจว่า-
จตฺตาโร ธมฺมา วฑฺฒนฺติ
อายุ วณฺโณ สุขํ พลํ ฯ
และ เอวํ โหตุฯ ขอความปรารถนาของท่านจงสำเร็จ...
ฉันกลับมาถึงอาราม
วางบาตรลงด้วยพระคาถาว่า-
อิทานิ อาหารคเวสิ
ทุกฺขํ สํเวควตฺถูติ วุจฺจติฯ
ความทุกข์อันเนื่องด้วยการแสวงหาอาหาร ในกาลนี้
อันท่านกล่าวว่า เป็นวัตถุแห่งความสังเวค...

ฉันนุ่งพระวินัย ห่มพระสูตร พาดพระธรรม
จิตใจของฉันขลัง
มีพลังยึดเหนี่ยว
ด้วยความศักดิ์สิทธิ์แห่งพุทธรังษีทฤษฎีญาณ
ฉันขอกราบขอบพระคุณ
พระอุปัชฌาย์ แลพระอาจารย์
ที่ได้สอนสั่งให้มั่งคง
ดำรงตนอยู่ได้ในร่มกาสาวพัสตร์
โดยไม่ปล่อยไปตามบุญ ยถากรรม
ฉันจักขอน้อมนำพระธรรมวินัยมาปฏิบัติขัดเกลาตนเองทุกเมื่อ
เพื่อไม่ให้ร้อนฯ


๏ นุ่งพระวินัย ห่มพระสูตร พาดพระอภิธรรม เป็นเหมือนคำอุปมา พระวินัยป้องกันไม่ให้ทำชั่ว ทำผิด, พระสูตรแสดงซึ่งความดับทุกข์, พระอภิธรรมให้สง่าราศีสูงสุด เพราะทำให้เรามีความรู้ธรรมะขั้นละเอียด ลึกซึ้ง
ขอให้เราได้นุ่งพระวินัย ห่มพระสูตร พาดพระอภิธรรมได้อย่างถูกต้องกันทุกคน สาธุ ฯ

*หมายเหตุกถา เขียนขึ้นมาจาก “การทำวัตรแบบโบราณ” ท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุ ใน เสขิยธรรม ฉบับที่ ๒๓ ปีที่ ๔ กรกฎาคม-กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๗

ไม่มีความคิดเห็น:

กถาเพื่อนคำ

ต้อนรับสู่ถ้อยคำเขียนข้าว
หมายเหตุแห่งเรื่องราว ณ ยุคสมัย
บานแผนกแยกรับ สดับนัย
ด้วยหทัยกล่าวธรรม สมันตา


Copyright©2007 kurukarn.blogspot.com
by editorship@hotmail.com
Powered By Blogger