วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ความเคลื่อนไหวท้องถิ่น : ชาวบ้านกับรัฐธรรมนูญใหม่

ความเคลื่อนไหวท้องถิ่น : ชาวบ้านกับรัฐธรรมนูญใหม่

หายไปหลายวัน กลับมาพูดคุยเป็นถ้อยคำในรูปอักขระกันต่อน่ะครับ
มีหลายเรื่องที่จะเขียนบอกเล่าเสวนากันแต่ไม่ค่อยได้ว่างมานั่งบ้านตนเอง มัวแต่ไปบ้านคนอื่นๆ
ตามประสานายไขเคว็ดหล่ะครับ อิ-อิ

ประชามติก้อไม่ได้ไปกากบาทขีดรับกะเขา เพราะติดขัดกับการงาน ทำให้พลาดในการร่วมบันทึกประวัติศาสตร์สยามไทยในยุค 2550
ผมเจ็บหัวอยู่กับรัฐธรรมนูญง่ะครับ เพราะกำลังทำงานวิจัยที่ใช้ถ้อยคำกฎหมายในรัฐธรรมนูญ ปี 2540 แต่อยู่ๆ วันสำคัญของผมมาถึงพอดิบพอดีในวันเดียวกับวันรัฐประหาร เลยทำให้มึนตื้บ จากวันนั้นจนวันนี้
การบ้านการหมู่บ้านของผมเลยต้องซุกตัวอยู่เงียบๆ นั่งมองแลความเคลื่อนเปลี่ยนของสังคม ชุมชนไปอย่างเรียบเรื่อยไปเรียงๆ ยังไม่ได้จับหลักจับฐานใดให้มั่นสักทีเลย

มาเมื่อวันศุกร์ที่ 3 สิงหา ผมได้กลับไปสู่ชุมชนครั้งแรกของปีนี้ ไปเพราะได้รับโทรศัพท์เรียกประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อรับฟังและร่วมให้ข้อเสนอแนะในการจัดการศึกษาเรียนรู้ของโรงเรียนในชุมชน
ยังพบกับบรรยากาศเดิมๆ คณะกรรมการฯ จากในชุมชนยังคงได้แต่เพียงรับฟังจากคำของครู

ชุมชนของเรายังคงมีส่วนร่วมเพียงการรับฟัง และเห็นตาม !

แม้กระทั่งงบประมาณที่ท้องถิ่นเอามาสนับสนุนก็ยังเพียงเจียดมาให้อย่างน่าสงสารเด็กๆ
เด็กๆ ที่เป็นลูกหลานในชุมชน
....
ผมอ่านร่างรัฐธรรมนูญเพียงแต่หมวดพระมหากษัตริย์
และไม่ได้สนใจมากมายกับการเรียกร้องให้จดจารพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ
ผมนิ่ง และห่างกับการงานของบ้านเมือง
ทำตัวเพียงนั่งแล

แต่ผมคิดถึงท้องถิ่น ชุมชนของสยามประเทศไทยอย่างมากมาย
ผมคิดถึงอย่างแรง

ฟังข่าวว่าแต่ละถิ่นมีความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ ในช่วงก่อนและวันลงประชามติกันไปต่างๆ นานา แม้กระทั่ง วันนี้

ผมคิดถึง “ผู้นำ” ในทุกระดับ
ผมคิดถึง “ชาวบ้าน”
ผมคิดถึง “ความเป็นของชุมชนท้องถิ่น”

แล้วทำให้คิดถึงคำของอาจารย์ผู้เฒ่า- “พัฒน์ บุณยรัตพันธุ์” แห่งมหาดไทย
ท่านบอกเล่าไว้ว่า : -

“พระอรหันต์ ย่อมรู้จักพระอรหันต์
นักพัฒนา ย่อมเห็นนักพัฒนา”

“การงานแห่งพระศาสนากับงานพัฒนาชุมชน เป็นอย่างเดียวกัน”

“ถือทุกข์เป็นเป้าหมายหลัก และหาวิธีการดับทุกข์”

“พัฒนาชุมชนกับพระศาสนาทำงานสร้างศรัทธามหาชน”

“ทำศรัทธาให้เกิดก่อนๆ ทำให้เกิดรูปธรรม”

“บ่อน้ำที่ชาวบ้านบอกว่า ช่วยกันขุดเอง คือบ่อน้ำพัฒนาชุมชน”

....


รัฐธรรมนูญใหม่

ไม่ทราบว่า “ชาวบ้าน” ได้ “ช่วยกันขุดเอง” อย่างแท้จริงแค่ไหน
หมู่บ้านได้เป็นฐานทัพยุทธศาสตร์ในการพัฒนาการบ้านการเมือง เพียงใด

“การทำให้เกิดความเคลื่อนไหว”
จะเป็นอย่างไรต่อไป

ผมนั่งแล..

ไม่มีความคิดเห็น:

กถาเพื่อนคำ

ต้อนรับสู่ถ้อยคำเขียนข้าว
หมายเหตุแห่งเรื่องราว ณ ยุคสมัย
บานแผนกแยกรับ สดับนัย
ด้วยหทัยกล่าวธรรม สมันตา


Copyright©2007 kurukarn.blogspot.com
by editorship@hotmail.com
Powered By Blogger